วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สิ่งใหม่ ๆ ใน Capitalism Lab

เมื่อตั้งค่าต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มเล่นเกมได้

สำหรับผู้ที่เคยเล่น Cap 2 มาแล้วก็คงคุ้นเคยหน้าเกมเป็นอย่างดี แต่ภาคนี้ก็มีสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามา

Inflation คล้าย ๆ ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย จะแปรผันกับอัตราการว่างงาน (คนจะซื้อสินค้าได้น้อยลงถ้าเป็นคนว่างงาน) และ ขึ้นกับค่า money supply (ถ้ามีค่านี้มาก จะเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้า)

Unemployment Rate คือ อัตราการว่างงานในแต่ละเมือง ยิ่งมากแปลว่ายังมีแรงงานที่ต้องการงานจากเราสูง และอัตราความต้องการสินค้าจะต่ำ (ไม่มีเงินซื้อนั่นเอง)

Real Wage Rate คือ อัตราจ้าง ยิ่งเยอะยิ่งค่าแรงสูง

Economic state คือสถานะของเศรษฐกิจ ว่ากำลังขยายตัว หรือชะลอตัว

GDP Growth ก็คือ อัตราการขยายตัวของ GDP หรือ รายได้รายบุคคล ยิ่งเยอะแปลว่าคนยิ่งมีกำลังซื้อเพิ่ม

Loan Interest Rate คือ อัตราดอกเบี้ยกู้ยืม



ต่อมาก็เป็นการสร้างอาคารสำนักงานให้เช่า ในภาคเก่าจะบอกแค่ราคาที่ให้เช่า กับเปอร์เซ็นต์ผู้เช่า
ในภาคนี้ จะบอกค่าอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิเช่น
Distance to CBD  คือ ระยะห่างจากศูนย์กลางย่านการค้า ยิ่งใกล้ศูนย์กลาง ค่าที่ได้ยิ่งสูง
Commuting Convenience คือ สภาวะแวดล้อม เช่น ใกล้อพาร์ทเมนต์ หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เอื้อแก่การเช่าสำนักงาน
Rent Attractiveness ประมาณว่า ความเหมาะสมของอัตราค่าเช่า ถ้าค่านี้ต่ำแสดงว่าค่าเช่าแพงเกิน
Office Space Supply/Demand คือพื้นที่ว่างให้เช่า และ ความต้องการเช่า ถ้า Demand มากกว่าแปลว่าพื้นที่เช่าไม่พอ ควรสร้างอาคารเพิ่ม
Land and Building Cost เป็นราคาที่ใช้ในการก่อสร้าง
Market Value เป็นราคาตลาดในปัจจุบัน
Gain เป็นผลกำไรที่จะได้จากการขายตึก = (market value - Cost ) x 100 / Cost


ต่อมาก็เป็นการสร้างอพาร์ทเมนต์ ซึ่งมีการบอกรายละเอียดมากขึ้น เช่น
Community Facilities คือถ้าใกล้สถานที่เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีดับเพลิง ฯลฯ ค่านี้จะสูง (สถานที่เหล่านี้ เราสามารถสร้างเองได้ในภาคนี้ครับ)
Shopping Convenience ถ้าใกล้ห้างร้านต่าง ๆ คือ มีแหล่งช็อปปิ้งเยอะ  ๆ ค่านี้ก็จะสูง
Green and Sports ถ้าใกล้สถานที่เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬา ค่านี้จะสูง



ต่อมาก็มาดูที่ Information แล้วเข้าเมนู Cities ก็จะบอกความเป็นไปของเมืองต่าง ๆ 
Population Growth บ่งบอกการเติบโตของจำนวนประชากร
Population บ่งบอกจำนวนประชากร
Quality of Living Index บ่งบอกคุณภาพชีวิตของประชากร
Housing Supply and Demand Index บ่งบอกอัตราส่วนระหว่างจำนวนที่อยู่อาศัยกับความต้องการที่อยู่อาศัย ถ้าเป็น + แสดงว่าจำนวนที่อยู่อาศัยมากกว่าความต้องการ
Office Space Supply and Demand Index บ่งบอกอัตราส่วนระหว่างพื้นที่อาคารสำนักงานกับความต้องการ


ต่อมาก็เป็นชนิดของสิ่งก่อสร้าง ที่มีเพิ่มมาก็คือ
Warehouse  คล้าย ๆ กับโกดัง คือเป็นที่สำหรับเก็บสินค้า เพื่อนำออกสู่ห้างร้านอีกต่อหนึ่ง
Natural Resources Firm จะรวมเหมืองต่าง ๆ ทั้งโรงเลื่อยไม้ เหมืองแร่ และบ่อน้ำมัน ไว้ที่เมนูนี้
Media Firm ในภาคนี้เราสามารถสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ วิทยุ และ หนังสือพิมพ์ได้เอง (ภาคก่อนจะต้องเทคโอเวอร์จากรัฐเท่านั้น)
Headquarters ในภาคนี้ไม่สามารถเลือกที่ตั้งเองได้ เกมจะสุ่มที่ตั้งมาให้ตั้งแต่เริ่มเกม
Community Building ได้แก่พวก โรงเรียน สถานีดับเพลิง มหาวิทยาลัย ฯลฯ เพื่อให้ประชาชนพอใจและย้ายเข้าสู่เมือง หรือมาเช่าอพาร์ทเมนต์ใกล้ ๆ สิ่งเหล่านี้
Sports Facilities ได้แก่ สนามเทนนิส สนามกอล์ฟ สนามฟุตบอล ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับ Community building

อย่างอื่นที่ยังเหมือนกับภาคเดิม คือ
Retail Store คือ ห้างร้านสำหรับขายสินค้า
Factory คือ โรงงานสำหรับผลิตสินค้า
R&D Center คือ ห้องปฏิบัติการวิจัยผลิตภัณฑ์ของบริษัท
Farm แหล่งเพาะปลูกและปศุสัตว์
Mansion บ้านของ CEO ก็คือตัวผู้เล่น
Apartment อพาร์ทเมนต์สำหรับเช่า
Commercial Building อาคารสำนักงานให้เช่า



ต่อมาก็คือการเลือกทำเลที่ตั้งร้าน จากภาคเดิมที่จะบอกแค่ค่าก่อสร้างและค่าซื้อที่ดิน ในภาคนี้จะมีเสริมค่า Customer Traffic Index คือ ค่าบ่งบอกถึงความหนาแน่นของลูกค้าในพื้นที่ ถ้ามีค่านี้สูงจะแปลว่ามีลูกค้าที่สัญจรในเส้นทางนี้สูง ซึ่งค่านี้จะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสถานที่ เช่นหากมีอพาร์ทเมนต์มากขึ้น สำนักงานมากขึ้น มีร้านค้าจำนวนมาก ก็มีโอกาสที่ค่านี้จะสูงขึ้นได้




เริ่มเล่น Capitalism lab

อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่า เกมนี้ก็อัพขึ้นมาจาก capitalism 2 หลาย ๆ อย่างก็เลยเหมือนเดิม

เริ่มเกมขึ้นมา ก่อนเล่นก็ต้องตั้งค่าเกมกันก่อน  เริ่มด้วยหน้า profile นั่นคือเลือก สี โลโก้ รูปตัวเอง ชื่อบริษัท แล้วก็ชื่อผู้เล่น

ต่อมาหน้า ENVIRONMENT  ก็จะเป็นการตั้งค่าสภาวะแวดล้อมของเกม ได้แก่
- จำนวนเมือง ภาคนี้สามารถเพิ่มได้ถึง 7 เมือง (ภาค 2 มีสูงสุดเพียง 4 เมือง)
- ฐานะของบริษัทเมื่อเริ่มเกมส์  ยิ่งสูงเงินเริ่มต้นก็ยิ่งเยอะ สูงสุด 100 ล้านเหรียญ
- จำนวนเหตุการณ์สมมติ เช่น ไฟดับ โรคระบาดในฟาร์ม ฯลฯ
- ปีที่จะให้เริ่มต้น 1990 และ 2000 
- ชนิดของร้านค้า  ถ้าเลือก One ก็จะมีแต่ Department store ขายได้ทุกอย่างในที่เดียว ถ้าเลือก Many ก็จะมีร้านค้าหลายชนิดให้เลือก เช่น ขายคอมพิวเตอร์ ขายเสื้อผ้า ขายอาหาร ฯลฯ
- การซื้อขายในตลาดหุ้น
- Technology Disruption (เป็นตัวเลือกใหม่) นั่นคือ หากหยุดพัฒนาเทคโนโลยีนาน ๆ ไป ความสามารถด้านเทคโนโลยีของบริษัทจะลดลง
- Macro Economy Realism เกี่ยวกับความเสมือนจริงของเศรษฐกิจ
- Inflation จะเกี่ยวกับกำลังซื้อ ประมาณเงินเฟ้อ (จะมีให้เลือกเมื่อ เลือก High ใน macro economy
- Inflation Strength ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับอะไรแน่ แต่จะมีให้เลือกเมื่อ inflation เป็น On


ต่อมาหน้า Competitors หรือผู้แข่งขัน หน้านี้ก็คล้าย ๆ เดิม มีเพิ่มมาก็ตรง
- จำนวนคู่แข่ง มีให้เลือกจาก 4 - 30 บริษัท (เดิม 1-10 )
- AI Friendly Merger คือการที่ให้บริษัทคู่แข่งสามารถควบกิจการกันได้ ก็จะเป็นการรวมกันทั้งเทคโนโลยี และร้านค้า คล้าย ๆ lenovo เทคโอเวอร์ IBM


 ส่วนหน้า imports ก็จะเหมือนเดิม ๆ นั่นคือตั้งค่าจำนวนสินค้าของ Seaports ซึ่งเป็นบริษัทส่วนกลาง ไม่ใช่คู่แข่ง

ส่วนหน้า Goals เป็นเป้าหมายที่ต้องการ ไม่ต้องตั้งค่าก็ได้




วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ผลิตภัณฑ์ ใน Capitalism Lab

เนื่องจากเป็นเกมต่อเนื่องจาก Capitalism 2 ผู้ที่เคยเล่นแล้วก็จะรู้ว่าเมื่อเริ่มเกม จะมีให้เลือกปีที่ให้เกมเริ่มเล่น ได้แก่ ปี 1990 และปี 2000 ซึ่งหากเลือกปี 1990 ก็จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีกันก่อน ไม่อย่างนั้นก็ผลิตสินค้าไม่ได้

ใน Capitalism Lab ก็เช่นเดียวกัน มีสินค้าบางชนิดต้องพัฒนาในปี 1990 ได้แก่ Camera phone, Notebook, Camcorder(Video Camera เดิม) , Compact camera, Handheld Game Console และ Video game console

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ต้องหมั่นเช็คเวลาในการพัฒนา ได้แก่ Camera phone, HUD glasses, Smart phone, Tabler computer, Compact camera และ Digital camera เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะมีการคิดค้นขึ้นภายหลัง

นอกจากนี้ก็ยังมีการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์บางชนิด ที่เพิ่มบ้าง หายบ้าง

ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ Blazer, Camera phone, HUD glasses, Smart phone, Tablet computer, Portable Media player, Refrigerator, Washing machine, Tissue, Washing power, Compact camera, Digital camera และ Silver watch

ผลิตภัณฑ์ที่หายไป ได้แก่ Palm computer, Camera film, Microwave, DVD player และ Video Recorder

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Capitalism Lab

หลังจากรอคอยภาคต่อของ Capitalism II มานาน ตอนนี้ก็ได้มีการออกภาคต่อแล้ว โดยใช้ชื่อว่า Capitalism Lab

ส่วนที่แตกต่างจากภาคเดิม ซึ่งทำให้ความยากของเกม มีเพิ่มขึ้นอย่างมาก
- มีการนำค่า GDP อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน มาใช้ทำให้เกมมีความสมจริงมากขึ้น
- ความต้องการของสินค้า คล้ายกับสถานการณ์จริง ยกตัวอย่างเช่น เดิม ถ้าผลิตมือถือ ก็จะขายได้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีก็ตาม แต่สำหรับภาคนี้ เมื่อเวลาผ่านไป มือถือจะขายได้ยากขึ้น ประชากรจะนิยมพวก camera phone หรือ smart phone (ทั้ง 2 อย่างมีเพิ่มเติมในภาคนี้) มากกว่า เราก็ต้องหยุดขายมือถือ แล้วหันไปลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากกว่า
- การสร้างอพาร์ทเมน หรือสำนักงานให้เช่า ก็จะมีนำค่าความน่าสนใจ (คล้าย ๆ กับ simcity นั่นคือ ประชากรจะสนใจเช่าโดยมีข้อแม้ เช่น หากใกล้แหล่งบันเทิง เช่น สนามกีฬา ห้าง โรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์กลางธุรกิจ ก็จะมีผู้สนใจมากกว่า
- มีการผลิตเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น สมาร์ทโฟน แทปเล็ต กล้องดิจิตอล ฯลฯ เพื่อให้ทันสมัยภาคขึ้น


เวปดาวน์โหลด
http://uploaded.net/file/bspj5uqq
http://downl.tudocompleto.com/2013/03/capitalism-lab-pc-completo.html